วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

บทที่ २ วิธีระบบ

.....ป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ความสำคัญของวิธีระบบวิธีระบบกลายเป็นแกนแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลักของเทคโนโลยีการศึกษา การฝึกอบรมและการให้การศึกษา เน้นไปที่ผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค เพื่อให้ได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้น
องค์ประกอบของระบบ
1. ข้อมูลป้อนเข้า(input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหาความต้องการวัตถุประสงค์ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์
2. กระบวนการ(process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้จากการป้อนข้อมูลและกระบวนการเพื่อที่จะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน
ขั้นตอนการจัดระบบ
1. ขั้นวิเคราะห์ระบบ(system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย
........1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ เป็นการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
.......1.2 วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้
........1.3 วิเคราะห์งาน เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้
........1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย
2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis)
........2.1 เลือกวิธีหรือกลวิธีเพื่อกาทางไปสู่จุดมุ่งหมาย ทดสอบกลวิธีเพื่อปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน
........2.2 การแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีแล้วก็ใช้กลวิธีนั้น ดำเนินการแก้ปัญหา
........2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้
3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง
.......3.1 แบบจำลองแนวนอน
.......3.2 แบบจำลองแนวตั้ง
.......3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
.......3.4 แบบจำลองแบบวงกลมหรือวงรี
.......3.5 แบบจำลองกึ่งแผนภูมิกึ่งรูปภาพ
.......3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์
4. ขั้นตอนการจำลองสถานการณ์
..........เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง เพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง เนื่องจากถ้านำไปใช้ในสถานการณ์จริง อาจทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงานและเงิน หรืออาจเสี่ยงต่ออันตราย
วิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
.........1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี ใช้งานได้เหมาะสมกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียน
.........2. การใช้สื่อ เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อในขณะทำการสอนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเลือกข้อมูล การใช่สื่อตามแผนที่วางไว้ การเรียนรู้ที่ต้องการ-เนื้อหา -ใช้ในเวลาที่เหมาะสม -สังเกตความสนใจของผู้เรียน-จุดมุ่งหมาย -ใช้อย่างคล่องแคล่ว -ประเมินผลและติดตามผล-ลักษณะผู้เรียน -ใช้อย่างมั่นใจแน่นอน -การปรับปรุงแก้ไข-รูปแบบการเรียน -ใช้อย่างต่อเนื่อง-ประเภทสื่อการสอน -ถ้าเป็นสื่อประเภทกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม-สภาพแวดล้อม -เมื่อใช้แล้วเก็บให้เรียบร้อยทันที-ความพร้อม-ครูผู้สอน-ผู้เรียน-สื่อการสอน
.........3. การเก็บรักษาสื่อ การเก็บรักษาสื่ออย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็วตรวจสอบได้ง่าย ประหยัดเวลา-สื่อการเรียนการสอนที่เก็บรักษาอย่างเป็นระบบระเบียบอยู่ในสภาพดี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเป็นระบบระเบียบ-ปัญหา -การวางแผนในการเก็บรักษา-วัสดุ/อุปกรณ์ -การจำแนกประเภทของสื่อ-ทรัพยากร -การเตรียมที่เก็บรักษา เช่น ตู้ ลิ้นชัก-บุคคล ผู้ใช้ ผู้เก็บรักษา -การทำทะเบียนสื่อ-ระยะเวลา -การดำเนินการเก็บรักษาสื่อ-แรงงาน -การให้บริการ-งบประมาณ -การเก็บรักษาตามที่จำแนกได้-สถานที่
รูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Model
1. วิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
.........ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้แตกต่างกัน การเลือกเนื้อหาบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน จะช่วยกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำควรใช้ประเภทรูปภาพ ภาพวิดีทัศน์ ไม่ควรเน้นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (state objective)
.......เป็นความต้องการที่ตั้งไว้ เพื่อเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียนควรครอบคลุมการเรียนรู้ด้านต่างๆ ต่อไปนี้
......2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การตัดสิน และการประเมินผล
......2.2 ด้านจิตใจ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียน เช่น ความชอบ ความซาบซึ้ง การเห็นคุณค่า
......2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทั้งทางด้านการใช้สมองและความรู้สึกอย่างคล่องแคล่ว
3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ
.....3.1 การเลือก การเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
.....3.2 การดัดแปลง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา วิธีสอน และลักษณะของผู้เรียน
.....3.3 การผลิต การผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของเนื้อหาบทเรียน จุดมุ่งหมายของบทเรียน ลักษณะของผู้เรียน ค่าใช้จ่าย ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะ เวลา ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิต
4. การใช้สื่อ (utilize materials)
........เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว
5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response)
........กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้
6. การประเมิน (evaluation)
.....6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด
.....6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
.....6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี